ทำความรู้จักกับ ‘สไตลิสต์’ (Stylist) และ 10 ประเภทของอาชีพสไตลิสต์ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

Table of Contents

เคยสงสัยไหมคะว่า Styling Fashion, Stylist และ Fashion Stylist คืออะไร วันนี้มายด์จาก All That’s Stylist ขอนำทีม แนะนำความหมายของ Stylist ให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ

สไตลิสต์ คือ อะไร?

คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับด้านศิลปะและการออกแบบนำมาประยุกษ์เข้าด้วยกัน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานจนทำให้เกิดอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ตามความสามารถนั้น ๆ

และอีกทั้งยังต้องเป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ ในทุก ๆ ด้านของความถนัดตนเอง เช่น เสื้อผ้า, ทรงผม, ความงาม, ไลฟ์สไตล์ และสิ่งอื่นใดที่จะช่วยให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล อาชีพ หรือเชิงพาณิชย์ได้

ประเภทของ Stylist ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

หากคุณเสิร์ชคำว่า Stylist ลงบน Google จะมีหลายความหมายที่คาบเกี่ยวหลายความหมายเลยใช่ไหมคะ ซึ่งในภาษาอังกฤษนั้นสามารถให้ความหมายได้หลายแบบ และหลายแขนงอาชีพ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Fashion Stylist
  • Private Stylist
  • Commercial Stylist
  • Events Stylist
  • Special Occasions Stylist
  • Property and Interior Stylist
  • Food Stylist
  • Personal Branding Stylist
  • Stylist Training
  • Hair Stylist

ลิสต์ด้านบนนี้เป็นแค่บางส่วนของอาชีพ stylist เท่านั้น ยังมีอีกมากมายแบ่งตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่ง Stylist ที่เราใช้กันเป็น ภาษาทับศัพท์ในไทย

และแต่ละชื่อเรียกก็ขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรมนั้น ๆ ซึ่งวันนี้มายด์จะขอพูดถึง Fashion Stylist ที่หมายถึง อาชีพของผู้ที่ดูแลเสื้อผ้าและการสไตล์ลิ่งลุคกันค่ะ

อ่านเพิ่มเติมบทความเกี่ยวกับ ประเภทของ Stylist ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

Fashion Stylist ใน อุตสาหกรรมแฟชั่นในไทย

Fashion Stylist คือ ผู้ที่มีความสามารถในการแต่งกาย และมีเซนส์ทางด้านแฟชั่น รวมไปถึงการแต่งตัว และ การสไตล์ลิ่ง (ลุค Look) ให้กับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ดารา, นักแสดง, นายแบบ, นางแบบ รวมไปถึงนักธุรกิจและบุคคลธรรมดาทั่วไป

อ่านเพิ่มเติม ประวัติความเป็นมาของ Fashion Stylist

รังสรรค์ไอเดีย ลุคสไตล์การ mix & match เสื้อผ้าและเครื่องประดับต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้กับบุคคลนั้น มีลุคออกมาดูดีและเหมาะกับตัวเองมากที่สุด (Best Look) อีกทั้งยังต้องใส่ความเป็นตัวเองและไอเดียที่ไม่เหมือนใคร ใครคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

personal stylist คือ

เป็นอาชีพที่ต้องมีไหวพริบ และมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นพอสมควร รวมไปถึงความสม่ำเสมอในการค้นคว้า หาข้อมูล และอัปเดตเทรนด์แฟชั่นอยู่ตลอดเวลา

Fashion Stylist นั้นมีประวัติและความเป็นมาที่อยู่กับเรามานานหลายศตวรรษแล้ว แต่ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมแฟชั่น จึงทำให้เกิดการออกแบบแฟชั่น (Fashion Styling)

เป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ และมีผู้ที่สนใจหรือนักเรียนมากมายทั้งที่ประเทศไทยเอง หรือ ต่างประเทศทั่วโลก ที่ปรารถนาอยากเป็นแฟชั่นสไตลิสต์นั่นเองค่ะ

10 ประเภทของ Fashion Stylist

Fashion Stylist แบ่งออกเป็น 10 ประเภทดังนี้

  • Editorial Fashion Stylist
  • Commercial Stylist
  • Runway Stylist
  • Celebrity Stylist
  • Product Stylist 
  • Personal Stylist
  • E-Commerce Stylist
  • Retail Stylists/Fashion Consultants
  • Wardrobe Stylist
  • Image Consultants

1. บรรณาธิการ Fashion Stylist (Editorial Fashion Stylist)

บรรณาธิการแฟชั่นสไตลิสต์ คือ อาชีพที่สร้างสรรค์ผลงานและเชี่ยวชาญในการรวบรวมนิตยสารแฟชั่นและบทบรรณาธิการ

และเป็นผู้จัดแสดงคอลเล็กชั่นพิเศษ จากแบรนด์เสื้อผ้า และดีไซน์เนอร์ออกแบบเสื้อผ้า ให้เป็นไปตามส่วนหนึ่งของโฆษณาและเลเอาท์ของนิตยสารที่วางแผนไว้

ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่หลักจะต้องร่วมงานกับดารา และนางแบบแฟชั่น รวมไปถึงทีมงานในกองบรรณาธิการ

คุณต้องมีสายตาที่เฉียบแหลมไหวพริบที่ดี ใส่ใจในรายละเอียดสูงเกี่ยวกับแฟชั่น เพื่อสามารถทำงานร่วมกับนักออกแบบที่แตกต่างกันและเข้าใจสุนทรียภาพในการทำงาน

ขอบคุณรูปเบื้องหลังจาก: 
Chimmastyle - ฉิมมาสไตล์

>> สนใจอยากเป็นบรรณาธิการแฟชั่นสไตลิสต์แบบคุณแพร <<
สไตลิสต์ แฟชั่นสไตล์ลิส

2. Stylist โฆษณา หรือ เชิงพาณิชย์ (Commercial Fashion Stylist)

คือ ผู้ที่ออกแบบและจัดหาชุดในเชิงพาณิชย์ ให้กับโฆษณาและเอเจนซี่ต่าง ๆ และนักแสดง รวมไปถึงรายการทีวีและละคร

พวกเขาต้องรู้ว่าสีใดใช้ได้ดีในกล้องและข้อกำหนดของแบรนด์ที่จัดระเบียบภาพยนตร์โฆษณา

Commercial Fashion Stylist ส่วนใหญ่ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ที่ทำงานร่วมกับนักออกแบบ ช่างภาพ และโปรดักชั่นเฮาส์เช่นเดียวกัน

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $82,020
สไตลิสต์ แฟชั่นสไตล์ลิส

3. Stylist แฟชั่นโชว์ (Runway Stylist)

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามอง และอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ ให้กับผู้คน ผ่านเสื้อผ้า นั่นก็คือ แฟชั่นรันเวย์ 

นอกจากนักออกแบบดีไซน์เนอร์ที่สร้างสรรค์ผลงาน ผ่านการออกแบบคอลเลคชั่นเสื้อผ้าในแต่ละซีซั่นแล้ว 

ยังมีสไตลิสต์แฟชั่นโชว์ (Runway Stylist) ที่มีบทบาทสำคัญในการดูและบรรยากาศและภาพรวมของงานผ่านการแต่งกายของเหล่านางแบบและนายแบบ ให้ออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุดเช่นกัน

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $48,846

อ่านเพิ่มเติม อัปเดต Fashion รันเวย์ Trends 2023 ก่อนใคร กับ 10 ไอเทมแฟชั่น SS/2023 
สไตลิสต์ แฟชั่นโชว์ คือ แฟชั่นสไตล์ลิส

4. สไตลิสต์ ดารานักแสดง หรือ บุคคลที่ออกงานสังคม และ ผู้มีชื่อเสียง (Celebrity Stylist)

มีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญที่จะสร้างคาเรคเตอร์ของบุคคลที่ออกงานสังคม และ ผู้มีชื่อเสียง นั้น ๆ ผ่านเสื้อผ้าให้ได้ลุคที่ออกมาดูดีและสวยงามมากที่สุด

ทั้งนี้อาชีพ Celebrity Stylist มีความคล้ายเคียงกับ Personal Stylist เพราะ ไม่ใช่แค่มีหน้าที่ในการเลือกเสื้อผ้าให้ตรงตามกระแสแฟชั่นหรือเลือกเสื้อผ้าให้ตรงใจลูกค้าเท่านั้น

Celebrity Stylist ยังต้องเข้าใจคาเรคเตอร์ของบุคคลดังคนนั้นและดึงตัวตนที่แท้จริงผ่านเสื้อผ้าออกมาให้ได้ ผ่านการคิดและออกแบบจากเสื้อผ้าแบรนด์ต่าง ๆ 

ยกตัวอย่าง Law Roach อีกหนึ่ง Celebrity Stylist ที่คนพูดถึงมากที่สุดในช่วงนี้ เพราะเขาได้สไตลิ่งเสื้อผ้า ให้กับดารานักแสดงคนดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Celine Dion, Zendaya, Ariana Grande, Anne Hathaway, Tiffany Haddish และคนอื่น ๆ ในวงการ Hollywood

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $52,367
celebrity stylist สไตลิสต์ คือ แฟชั่นสไตล์ลิส

5. ผู้จัดพร็อพสำหรับถ่ายสินค้าทุกรูปแบบ (Product Stylist)

Product Stylist หรือ ที่เราคุ้นชื่อกันในคำว่า พร็อพสไตลิสต์ มีหน้าที่สำคัญที่จะช่วยให้ภาพรวมของสินค้าออกมาสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ซึ่งสไตลิสต์ในหมวดอุตสาหรรมเดียวกันนั้น ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่นสไตลิตส์ หรือ ฟู้ดสไตลิสต์ รวมไปถึงช่างภาพและช่างวิดิโอก็ต่างต้องการ Product Stylist เพื่อเข้ามาครีเอท และหาอุปกรณ์เพื่อชูจุดเด่นสินค้านั้น ๆ ด้วยเช่นกัน

เพราะหน้าที่หลักของ Product Stylist คือ ดูแลและจัดหา Material เพื่อสั่งทำ และสั่งซื้อของตกแต่งต่าง ๆ

และจัดวางพร็อพ ออกแบบองค์ประกอบในภาพเพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด (เรียกง่าย ๆ ว่า ตรงตามบรีฟนั่นเองค่ะ)

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $48,838
พร็อพสไตลิสต์ แฟชั่นสไตล์ลิส

6. สไตลิสต์ส่วนตัว (Personal Stylist)

Personal stylist คือ ที่ปรึกษาด้านการแต่งกาย และเป็นผู้จัดหาเสื้อผ้า ให้กับบุคคลนั้น ๆ

เป็นอาชีพในฝันของคนที่อยากสร้างความมั่นใจ (ให้คนอื่น) ผ่านการแต่งตัว ที่ไม่ใช่แค่มีหน้าที่ในการเลือกเสื้อผ้าให้ตรงตามกระแสแฟชั่นหรือเลือกเสื้อผ้าให้ตรงใจลูกค้าเท่านั้น

เช่นเดียวกันกับ Celebrity Stylist ที่ได้อธิบายไปข้างต้นนั่นเองค่ะ เพราะความสำคัญและหน้าที่ของ สไตลิสต์ส่วนตัว ต้องสามารถเสกสไตล์การแต่งกายให้น่าทึ่ง และดึงตัวตนของบุคคลนั้นออกมาให้ได้ 

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $42,000
personal stylist คือ แฟชั่นสไตล์ลิส

อ่านเพิ่มเติมบทความ Personal Stylist

7. Stylist การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Stylist)

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ที่หลายคนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็น การซื้อขายสินค้า ผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมไปถึงการทำการตลาดโปรโมทสินค้า

E-Commerce Stylist จึงมีบทบาทสำคัญที่จะต้องเข้ามาทำหน้าที่ สร้างรูปลักษณ์สำหรับแบรนด์และแคตตาล็อกต่าง ๆ สำหรับสินค้านั้น ๆ เพื่อใช้ในการโปรโมทและทำการตลาด

ซึ่งคล้ายกับ Commercial Fashion Stylist แต่มีรายละเอียดมากกว่า

รวมไปถึงคุมงบประมาณที่ลูกค้าให้ รับผิดชอบจัดหานางแบบนายแบบที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ให้เกิดความต้องการซื้อผ่านภาพหรือวิดิโอให้ได้

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์ $41,162
E-Commerce สไตลิสต์ แฟชั่นสไตล์ลิส

8. ที่ปรึกษาเลือกซื้อเสื้อผ้าในร้านค้าแบรนด์เนม (Retail Stylists/Fashion Consultants)

Retail Stylists/Fashion Consultants หรือ สไตลิสต์ที่ปรึกษาในร้านค้าแบรนด์ มีหน้าที่สำคัญและเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ค้าปลีก แบรนด์เสื้อผ้าหรูหรา และแบรนด์เสื้อผ้าพรีเมียม

หากคุณเดินห้างรรพสินค้า จะสังเกตเห็นร้านเสื้อผ้าแบรนด์เนมอย่าง louis vuitton, Miu Miu และแบรนด์อื่น ๆ จะมีพนักงานเข้ามาให้คำแนะนำ และรับคำปรึกษาให้กับลูกค้า ที่กำลังมองหาเสื้อผ้าใส่ หรือการ mix and macth เสื้อผ้า เพื่อให้ลุคออกมาดูดี 

พวกเหล่านี้แหละ คือ Retail Stylists อีกทั้งยังต้องแนะนำผู้บริโภคให้เกิดความต้องการซื้อ ผ่านคอลเลกชันของแบรนด์นั้น ๆ ให้ได้อีกด้วย 

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์  $28,746
สไตลิสต์ ร้านค้าแบรนด์เนม แฟชั่นสไตล์ลิส

9. Stylist กองละคร (Wardrobe Stylist)

สไตลิสต์กองละคร อีกหนึ่งชื่อ เรียก Wardrobe Stylist
ตำแหน่งงานของผู้ที่คอยคัดเลือกเสื้อผ้า ให้กับบุคคลหนึ่งผ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแคมเปญโฆษณา เพื่อออกอากาศในโทรทัศน์, มิวสิควิดีโอ, การแสดงคอนเสิร์ต, ภาพยนต์, ซีรีย์ และบุคคลสาธารณะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นดารา นางแบบ

ยกตัวอย่าง Wardrobe Stylist ที่เป็นที่พูดถึงอยู่ช่วงหนึ่งในซีรีย์ Emily in Paris ทำให้ใครหลายคนได้รู้ถึงอาชีพนี้มากขึ้น เพราะด้วยเอกลักษณ์ การแต่งตัวที่โดดเด่นของนักแสดง "Emily" (Lily Collins) จนผู้คนตั้งคำถามใครเป็นผู้สไตลิ่งชุดเธอ 

และผู้ที่ออกแบบชุด "Emily" นั่นก็คือ Wardrobe Stylist ท่านนี้เอง Patricia Field

ซึ่งนอกจากจะต้องคิดชุดให้นักแสดงแล้ว Wardrobe Stylist ยังต้องทำงานกับทีมโปรดักชั่นอย่างหนัก ทั้งคิดชุดให้เข้ากับฉากนั้น ๆ และพูดคุยให้เข้าใจถึง องค์ประกอบภาพที่จะออกมาได้เป็นอย่างดี 

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์  $28,746
สไตลิสต์กองละคร แฟชั่นสไตล์ลิส

อ่านเพิ่มเติมบทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ Stylist กองละคร (Wardrobe Stylist)

10. ที่ปรึกษาด้านการแต่งกายและปรับบุคลิกภาพ (Image Consultant Stylist)

มาถึงอาชีพอันดับที่ 10 ในวงการ Stylist กับ ที่ปรึกษาด้านการแต่งกายและปรับบุคลิกภาพ 

อาชีพนี้ต่างจาก Personal Stylist เพราะ Image Consultant Stylist จะต้องเป็นที่ปรึกษาเรื่องการปรับบุคลิกภาพในการแต่งกายให้คุณ

รวมไปถึงสอนกลวิธีและสร้างวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับสไตล์และภาพลักษณ์ให้กับตัวคุณเอง 

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่มั่นใจในการแต่งกายหรือไม่แน่ใจว่ารูปร่างและสไตล์การแต่งตัว เหมาะกับคุณไหม สามารถปรึกษา Image Consultant Stylist ได้เลย

เงินเดือนเฉลี่ย (ต่อปี): เทียบเป็นค่าเงินดอลล่าห์  $75,000

สนใจอยากปรึกษาให้เราดูแล เป็น Image Consultant Stylist หรือราคาและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงาน 098-995-4197 (Khun Mind) Email: [email protected]
ที่ปรึกษาด้านการแต่งกาย และปรับบุคลิกภาพ แฟชั่นสไตล์ลิส

สรุปอาชีพ Fashion Stylist

หลังจากที่ได้แนะนำ 10 ประเภทของ Fashion Stylist ไปแล้ว สรุปได้ว่าเป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญ ในวงการแฟชั่น เพราะเกี่ยวข้องกับ กระบวนการคิดและออกแบบลุคและสไตล์การแต่งตัว ผ่านเสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า พร็อพต่าง ๆ ให้ออกมา perfect look มากที่สุด

ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการ สไตลิ่ง และ mix and match เสื้อผ้า หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มี sense ในการแต่งตัว หรือ เข้าใจเสื้อผ้าเป็นอย่างดี ขอบอกเลยว่าคุณมาถูกทางแล้วค่ะ อยู่ที่ว่าคุณถนัดการเป็นสไตลิสต์ในประเภทไหน

หากคุณเข้าใจประเภทของอาชีพ Fashion Stylist แล้ว มายด์จะพาทุกคนไปทำความเข้าต่อกับ ความรับผิดชอบและคุณสมบัติสำคัญที่เหล่า Fashion Stylist ต้องมีกันค่ะ

อ่านเพิ่มเติม วิธีการสไตลิ่งเสื้อผ้าได้ด้วยตัวคุณเอง กับ How to Mix and Match เสื้อผ้าหลากหลายสไตล์

5 ความรับผิดชอบหลักในการทำงาน Fashion Stylist

  1. สร้าง connection คือสิ่งสำคัญในการเป็น Fashion Stylist
  2. ทำงานเป็นทีม เข้าใจการทำงานของตนเอง และคนอื่นได้เป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่ Fashion Stylist จะต้องทำงานร่วมกับกองถ่าย Prodution และเจอผู้คนมากมายอยู่เสมอ
  3. ต้องคิดและค้นคว้าหาข้อมูลการซื้อเสื้อผ้า และมีความรับผิดชอบในการยืมเสื้อผ้า
  4. หากมีโอกาสควรเข้าร่วมการแสดงโชว์บนรันเวย์และกิจกรรมแฟชั่นเพื่อติดตามเทรนด์และสไตล์อยู่เสมอ
  5. ค้นคว้าหาข้อมูลและอัปเดตเทรนด์ เกี่ยวกับแฟชั่นยุคต่าง ๆ เพื่อการถ่ายภาพแฟชั่นสำหรับนิตยสาร บทบรรณาธิการ และอื่น ๆ
(Visited 2,352 times, 1 visits today)