“เมื่อโลกเปลี่ยน มนุษย์นึกถึงความจำเป็น มากกว่าความสุรุ่ยสุร่าย” จึงทำให้มองเห็นคุณค่างานดีไซน์มากขึ้น อย่าเพิ่งแปลกใจว่าทำไม All That’s Stylist ถึงเริ่มต้นบทความด้วยประโยคแบบนี้
เพราะว่าวันนี้เรากำลังพูดถึง แฟชั่นที่มากกว่าการดีไซน์ที่มาพร้อมคำนิยามที่ว่า “มีเงินใช่ว่าจะมีได้” กับ “โอต์กูตูร์” ที่สุดแห่งวงการแฟชั่น เป็นการผนวกงานดีไซน์ และเทคนิคขั้นสูงเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้คนทั่วโลก
โอต์กูตูร์ คือ อะไร?
โอต์กูตูร์ (Haute Couture) นั้นมาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นลักษณะของการตัดเย็บขั้นสูง หรือ เรียกให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การสั่งตัดพิเศษขึ้นมาเฉพาะบุคคล โดยดีไซเนอร์และช่างตัดเย็บชุดจะออกแบบตามสรีระของผู้สวมใส่ กระบวนการทั้งหมดตั้งแรกเริ่มออกแบบไปจนถึงการตัดเย็บต้องผ่านมือ
En.wikipedia
หากย้อนกลับไปเมื่อในปี ค.ศ. 1858 จุดเริ่มต้นของศิลปะแฟชั่น โอต์กูตูร์ ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส โดย ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิร์ธ Charles Frederick Worth “บิดาแห่งโอต์กูตูร์” ดีไซเนอร์ผู้มีอิทธิพลเหนือวงการแฟชั่นปารีส 1870s
ผู้ออกแบบเสื้อผ้าให้กับคุณหญิงร่ำรวยในสมัยนั้น และเขาได้เป็นเจ้าของห้องเสื้อโอต์กูตูร์แห่งแรก วัสดุและรูปแบบของการดีไซน์ การปักเย็บแสนปราณีต คำนึงถึงผู้สวมใส่ ทำให้เสื้อผ้าแต่ละชุดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน หรูหราตระการตา ทำให้ โอต์กูตูร์ กลายมาเป็นแรงบันดาลให้กับดีไซน์เนอร์ และสร้างคุณค่าให้กับแวดวงงานแฟชั่นดีไซน์
ทำไมต้องมี โอต์กูตูร์ ?
อย่างที่ All Thats Stylist ได้เล่าให้ทุกคนฟังไปข้างต้นเกี่ยวกับ โอต์กูตูร์ คือ อะไร? ทุกคนคงสงสัยใช่ไหมว่า ทำไม โอต์กูตูร์ถึงกลายเป็นแฟชั่นที่สำคัญ แล้วอะไรที่ทำให้แบรนด์แฟชั่นมากมายและผู้คนทั่วโลกอยากเป็นแบรนด์ในสมาชิกและครอบครองชุดโอต์กูตูร์?
เพราะ ด้วยกระบวนการออกแบบที่คำนึงถึงคนสวมใส่ก่อนอันดับแรก การตัดเย็บ Made to Order ที่บรรจงเก็บทุกรายละเอียดอย่างปราณีต
การรังสรรค์ชุดโอต์กูตูร์เรียบ ๆ 1 ชุด ต้องอาศัยช่างฝีมือราว 6 คน ใช้เวลาในการตัดเย็บกว่า 200 ชั่วโมง และสำหรับชุดที่การปักประดับใช้เวลากว่า 1,000 ชั่วโมง และใช้เวลา 6,000 ชั่วโมง ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
Vogue US
ทำให้ชุดโอต์กูตูร์เสมือนจิตวิญญาณ คุณค่าของงานดีไซน์ที่ไร้ขอบเขต ไร้ข้อจำกัด เต็มไปด้วยความทุ่มเท หยาดเหงื่อ และความภาคภูมิใจของดีไซเนอร์สะท้อนผ่านรูปร่าง ลวดลายของชุด เป็นเหตุผลให้ โอต์กูตูร์ มีราคาจ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะว่า “มีเพียงไม่กี่ชุด…บนโลก” หรือ อาจจะมี “เพียงตัวเดียวบนโลก”
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าความยากลำบากในการตัดเย็บและความประณีตบรรจงทุกรายละเอียดถือเป็นหัวใจสำคัญของ โอต์กูตูร์ แฟชั่นเฮาส์จะต้องใช้ช่างฝีมือทั้งหมดราว ๆ 6 คนต่อการตัดเย็บ 1 ชุด
หากถามว่า โอต์กูตูร์ จำเป็นมากแค่ไหน คงตอบออกไปแบบไม่ต้องคิดเลยว่า “จำเป็นมาก” เพราะเป็นแฟชั่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญาญาณของงานดีไซน์ และสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งของจำเป็น มากกว่าความฟุ่มเฟื่อย
15 แบรนด์ Haute Couture มีแบรนด์อะไรบ้าง?
เมื่อ โอต์กูตูร์ กลายเป็นศิลปะแฟชั่นที่ผู้คนรู้จักกันมากขึ้น มีแบรนด์ดังระดับโลกอยากขนานนามตนว่าเป็น แบรนด์ โอต์กูตูร์มากมาย แต่ไม่ใช่ว่าใครก็ขนานนามตัวเองขึ้นมาได้นะ
จะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการก่อน และในแต่ละปีแบรนด์โอต์กูตูร์ ต้องนำเสนอคอลเลคชั่นโอต์กูตูร์ของตนเองปีละ 2 ครั้ง คือ Spring/Summer และ Autumn/Winter ปัจจุบันนี้มีเพียง 15 แบรนด์ ที่ถูกประกาศให้เป็นสมาชิกของ โอต์กูตูร์ ได้แก่
- Adeline André
- Alexandre Vauthier
- Alexis Mabille
- Chanel
- Christian Dior
- Franck Sorbier
- Giambattista Valli
- Jean Paul Gaultier
- Julien Fournié
- Maison Margiela
- Maurizio Galante
- Schiaparelli >> เก็บตกลุคแฟชั่นโชว์ โอต์กูตูร์ ‘Doja Cat’ คริสตัล 30,000 ชิ้นบนชุดแบรนด์ Schiaparelli
- Stéphane Rolland
- Givenchy
- Yiqing Yin
ใครซื้อ และ ใส่ชุดโอต์กูตูร์ในราคาหลักล้าน?
ปี ค.ศ. 1950 สาวที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น สาวสังคมแห่งยุค 50 “Babe Paley” ผู้ที่เลือกสวมใส่สิ่งที่พึงพอใจมากกว่าราคาของสิ่งนั้น “ชุดโอต์กูตูร์” ก็เป็นอีกหนึ่งแฟชั่นที่ Babe Paley เลือกใส่บนเรือนร่างของเธอ และในปีเดียวกันนี้ยังมี Marella Agnelli, Grace Kelly ที่หลงใหลในชุดโอต์กูตูร์เช่นกัน
เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายปี ชุดโอต์กูตูร์ก็ยังได้รับนิยมมาอย่างต่อเนื่อง จนมาในปี ค.ศ. 1997 Nicole Kidman นักแสดงชื่อดังระดับฮอลลีวู้ด ได้สวมชุดโอต์กูตูร์สีเขียวของ Christian Dior ไปออกงานรับรางวัลออส์การ์ในปีนั้น ซึ่งกลายเป็นที่ฮือฮามาก ๆ เพราะชุดที่เธอสวมใส่อยู่นั้นมีรายงานว่ามีราคาสูงถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายชื่อสมาชิกร่วมแบรนด์ Haute Couture เพิ่มเติม
สมาชิกร่วมแบรนด์ Haute Couture คือ กลุ่มแฟชั่นเฮาส์ที่มีกระบวนการผลิต และตัดเย็บที่ปราณีตเฉพาะตัว เข้าข่ายมาตรฐานของโอต์กูตูร์ แต่ไม่ได้มีสำนักงานหลักอยู่ในประเทศฝรั่งเศสนั้นเอง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกร่วมแบรนด์ ดังนี้
- Atelier Versace
- Azzedine Alaïa
- Elie Saab
- Fendi Couture
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเรื่องราวของ โอต์กูตูร์ การตัดเย็บชั้นสูง ที่สุดแห่งวงการแฟชั่นที่มากกว่าการดีไซน์ All Thats Stylist หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ และคลายข้อสงสัยกันนะคะ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โอต์กูตูร์ อีก เราจะนำมาฝากเพื่อน ๆ กัน ฝากติดตามกันนะคะ
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม
- ส่องงาน Met Gala 2023 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการแฟชั่น ในธีม ’in honor of Karl Lagerfeld’
- ส่อง 8 ลุค “กลัฟคณาวุฒิ” กับการเดินทางไปซิดนีย์ เยี่ยมชมนิทรรศกาลของ Gucci Garden Archetypes
- แบรนด์ Ambassador คนใหม่ Dior Thailand “นาย ณภัทร เสียงสมบุญ”