ยุคสมัยนี้ใคร ๆ ก็มักพูดถึง แฟชั่นชั้นสูง อย่าง โอต์กูตูร์ ซึ่งเป็นการออกแบบ และตัดเย็บเสื้อผ้าตามสรีระร่างกายของแต่ละบุคคล แล้วมีใครรู้ไหมว่า บิดาแห่งโอต์กูตูร์ คือใคร? วันนี้ All That’s Stylist จะพาทุกคนมารู้จัก Charles Frederick Worth “บิดาแห่งโอต์กูตูร์” ดีไซเนอร์ผู้มีอิทธิพลเหนือวงการแฟชั่นปารีส 1870s
ทำความรู้จัก Charles Frederick Worth ช่างทำเสื้อผ้าที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ดีไซเนอร์ทรงอิทธิพล”
หากย้อนกลับไปในยุค 1870 – 1960s เป็นช่วงเวลาที่ปารีสเฟื่องฟูด้านการเป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่นในยุโรป สตรีชนชั้นสูง คนร่ำรวยมหาศาล ประดับประดาร่างกายด้วยเสื้อผ้าจากวัสดุคุณภาพสูง
ที่มีการดีไซน์สวยงาม ทำให้ โอต์กูตูร์ การตัดเย็บที่ออกแบบตามสรีระของผู้คนได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะทุกรายละเอียดที่ถ่ายทอดออกมาบนเนื้อผ้า มีความประณีต หรูหราดูแพง
โดยในยุคนั้น ดีไซเนอร์ที่สามารถใช้เทคนิคการตัดเย็บชั้นสูงนี้เพียงไม่กี่คน หนึ่งในนั้นคือ ชาร์ลส์ ดีไซเนอร์คนแรกที่ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโอต์กูตูร์ ผู้มีอิทธิพลเหนือวงการแฟชั่นปารีส
Charles Frederick Worth เกิดที่เมืองลินคอร์นไชร์ ประเทศอังกฤษ ปี 1825 เมื่อเขาอายุ 11 ปี เขาได้เข้าทำงานในร้านขายเครื่องพิมพ์ หลังจากนั้นไม่นานหนึ่งปี เขาย้ายไปลอนดอนเพื่อเป็นเด็กฝึกงานที่ห้างสรรพสินค้าของ Swan & Edgar ใน Piccadilly
จน 7 ปีต่อมา ชาร์ลส์ ได้ย้ายไปเผชิญโลกกว้าง และทำงานกับพ่อค้าธุรกิจสิ่งทอชื่อดัง ชื่อ Lewis & Allenby ซึ่งความมุ่งมานะตั้งใจทำงานในอุสาหกรรมสิ่งทอ จึงทำให้เขาได้ขายงานได้ ที่ House of Gagelin ร้านค้าปลีกที่เก่าแก่ที่สุดในปารีสและมีชื่อเสียงและการทำสิ่งทอและเนื้อผ้าสำเร็จรูป
จึงเป็นจุดชนวนสำคัญที่ทำให้เขาฝึกฝนตัวเองมากขึ้นให้เก่งในการตัดเย็บเสื้อผ้า เหตุนี้เอง เจ้าของ Gagelin จึงมอบโอกาส ขยายกิจการร้านสิ่งทอให้มีแผนกตัดเย็บพิเศษที่ดำเนินงานโดยชาร์ลส์
ต่อมาธุรกิจนี้โด่งดังไปทั่ว และชนะรางวัลงานมากมายอย่าง นิทรรศการ The Great Exhibition ในลอนดอนปี 1851 และ Exposition Universelle ในปารีสปี 1855
ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ชุดที่เขาออกแบบและตัดเย็บขึ้นมานั้น มีความพิถีพิถัน โดดเด่นไม่เหมือนใคร ในปี 1858 ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิร์ธ จึงซื้อหุ้นส่วนธุรกิจหนุ่มชาวสวีเดนชื่อ Otto Gustaf Bobergh และในปี พ.ศ. 2401 ภรรยา Marie Vernet Worth และลูกชายของชาร์ลส์ ทั้งคู่ได้ก่อตั้งธุรกิจ โดยตั้งชื่อสถานประกอบการว่า ‘Worth and Bobergh’
Wikipedia
ความสำเร็จและลูกค้าคนสำคัญของ House of Worth
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นบทความว่า โอต์กูตูร์ นั้นเป็นแฟชั่นชั้นสูงที่คนเข้าถึงได้นั้นจะต้องเป็นชนชั้นสูงสำนักราชการ ผู้ดีชาติตระกูลร่ำรวย ด้วยกระบวนการออกแบบไปจนถึงการตัดเย็บแต่ละชุดขึ้นมา
ต้องอาศัยวัสดุคุณภาพดี ความปราณีตของดีไซเนอร์ และระยะเวลาในการทำแสนยาวนาน เพราะต้องตัดเย็บด้วยมือทั้งหมด! รู้จักการตัดเย็บชั้นสูง อ่านต่อได้ที่ >> โอต์กูตูร์ คือ อะไร? ที่มาของการตัดเย็บชั้นสูง ที่สุดแห่งวงการแฟชั่นที่มากกว่าการดีไซน์
โดยในยุคสมัยนั้น ลูกค้าคนสำคัญที่หลงใหลในการดีไซน์ของชาร์ลส์ คือ จักรพรรดินี Eugénie de Montijo มเหสีของนโปเลียนที่ 3 พระองค์มักสวมใส่เสื้อผ้าโอต์กูตูร์อยู่เสมอ
นอกจากจักรพรรดินี Eugénie แล้ว พระองค์ยังมีพระราชอาคันตุกะอีกจำนวนมาก รวมทั้งจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรียด้วย จึงเป็นที่แนะนำเสื้อผ้าโอต์กูตูร์
นอกเหนือจากสังคมชั้นสูงแล้ว House of Worth ยังผลิตเสื้อผ้าสำหรับดารายอดนิยมเช่น Sarah Bernhardt, Lillie Langtry และ Jenny Lind
เหตุนี้เองทำให้ชาร์ลส์ กลายเป็นที่รู้จักอย่างมาก ในบรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ต่างให้เขาออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าออกงานให้ทั้งนั้น
ซึ่งผลงานดีไซน์ของ ชาร์ลส์ ที่โลกไม่เคยลืมคงเป็นการตัดเย็บชุดราตรีผ้าทูลสีขาว ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งผลงานสำคัญในประวัติศาสตร์ศิลปะแฟชั่นชั้นสูงที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชาร์ลส์
นวัตกรรมแฟชั่นที่ชาร์ลส์รังสรรค์ขึ้น เป็นที่รู้จักมากมาย ถูกพูดถึงผ้าที่นำมาใช้ตัดเย็บ, ดีไซน์ของชุด และการตกแต่งที่หรูหรา ผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ จากชุดเดรสย้อนยุค อีกทั้งเขาสร้างชิ้นงานที่ไม่ซ้ำใครสำหรับลูกค้าที่สำคัญ
ในแต่ละครั้งที่ชาร์ลส์ออกแบบเสื้อผ้า ชาร์ลส์จะใช้นางแบบจริง ในการตัดเย็บชุดอยู่เสมอ และปรับให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญของเขา คือ การตัดเย็บแบบ “Princess Line” เพื่อการใช้งานได้จริงและสวยงามเวลาสวมใส่ ซึ่งต่างจากก่อนหน้านั้นเขาใช้ “Crinoline” หรือ กระโปรงสุ่ม ชั้นในที่มีโครงสร้างแข็งหรือมีโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรับกับกระโปรงเวลาสวมใส่ ในการสร้าง Garment shape
ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษ 1880 ชาร์ลส์ ได้มีแนวคิดในการสร้างเสื้อผ้าโอต์กูตูร์แบบใหม่ให้กับ House of Worth โดยออกแบบคอลเลกชั่นตามฤดูกาลปีละ 2 ครั้ง เรียกได้ว่าเขาคือผู้เริ่มต้นแนวคิดนี้เลยก็ว่าได้
ชาร์ลส์ จึงเป็นเหมือนบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมแฟชั่น นักข่าวและอดีตนักการเมืองผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มากมายให้ความสนใจกับ ชีวประวัติของ ชาร์ลส์ ในคำนิยาม “male’style dictator'”
ในปี 1874 ลูกชายของ ชาร์ลส์ Gaston-Lucien และ Jean-Philippe ดูแลต่อ และได้มีบทบาทมากขึ้นในการดูแลธุรกิจของ House of Worth ในขณะเดียวกันก็ทำให้ตัว ชาร์ลส์ เองมีเวลาว่างมากขึ้น แต่ด้วยอายุที่มาก ทำให้เขาประสบกับปัญหาสุขภาพหลายอย่างรวมถึงไมเกรน ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1895 ชาร์ลส์ เฟรเดอริค เวิร์ธ ได้เสียชีวิตลง ด้วยโรคปอดบวมขณะอายุได้ 69 ปี
สรุปตำนานของ Charles Frederick Worth “House of Worth”
แม้ว่าผู้ก่อตั้งจะจากไป House of Worth ค.ศ. 1895 บุตรชายของเขา กาสต็อง-ลูเซียน (1853–1924) และ จีน-ฟิลิป (1856–1926) ได้รับมอบธุรกิจกลายเป็นบริษัทที่โด่งดังและประสบความสำเร็จสูงสุดในปี ค.ศ. 1900 ช่วงเวลานั้นผู้หญิงสั่งซื้อชุดมากถึง ครั้งละ 20-30 ชุด ภายในปีเดียว และมีการจัดแสดงเสื้อผ้าที่งาน Exposition Universelle ในปี 1900 ในกรุงปารีสอีกด้วย
“ชาร์ลส์ สร้างประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เขามองว่าเสื้อผ้าเป็นศิลปะ และมีแนวคิดการออกแบบเสื้อผ้า ไม่ใช่เพื่อรสนิยมของลูกค้า แต่ขึ้นอยู่กับความประทับใจของในสิ่งที่ผู้หญิงควรสวมใส่”
การรำลึกถึงอดีตของชาร์ลส์ จึงอยู่ภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert ในลอนดอน และ พิพิธภัณฑ์ The Metropolitan Museum of Art
ที่พิพิธภัณฑ์มีแหล่งข้อมูลของการออกแบบของชาร์ลส์เวิร์ทมากมาย ตั้งแต่ภาพวาดเสื้อผ้าในปี ค.ศ. 1956 ของ House of Worth รวมเป็นจำนวน 23,000 รายการให้กับพิพิธภัณฑ์ได้ดูแล
ต่อมา V&A จัดแสดงนิทรรศการใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งธุรกิจของ ชาร์ลส์ เฟรเดอริก เวิร์ธ อีกทั้งพิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิเทนมิวเซียม (The Metropolitan Museum of Art) ยังมีแหล่งข้อมูลของงานออกแบบของเขารวมถึงชุดเดรสจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อีกด้วย
>> อ่านบทความเพิ่มเติม 5 เหตุผล “ทำไม ต้องจ้างส ไต ลิ ส ต์ ส่วนตัว” เพื่อช่วยปรับลุค
รวมไปถึงสถานที่เกิดของชาร์ลส์ เมืองลินคอร์นไชร์ ประเทศอังกฤษ ก็ได้เปิดตัว Charles Worth Gallery ที่โชว์แสดงเอกลักษณ์ของเอกลักษณ์, ภาพถ่าย และโบราณวัตถุที่ศูนย์มรดกโดยสมาคมพลเมืองดูแลรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี
อ้างอิงเนื้อหาทั้งหมดจาก: met museum
จบไปแล้วนะคะสำหรับเรื่องราว “บิดาแห่งโอต์กูตูร์” ดีไซเนอร์ผู้มีอิทธิพลเหนือวงการแฟชั่นปารีส 1870s ซึ่งเหตุผลนี้เองจึงเป็นคำตอบว่าทำไม “ชุดโอต์กูตูร์” ถึงมีมูลค่าชุดที่มหาศาล All That’s Stylist หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ น้า ถ้าชอบสามารถกดแชร์บทความได้ตามช่องทางด้านล่าง หรืออ่านบทความอื่นต่อได้ที่
- รวม 10 แบรนด์ hi end มีอะไรบ้าง? ความแตกต่างระหว่าง High-end & Luxury แฟชั่นแบรนด์
- ความหมาย Fashion pyramid กับการจำแนก 5 ระดับแฟชั่นที่คนรักเสื้อผ้าต้องรู้
- เก็บตกลุคแฟชั่นโชว์ โอต์กูตูร์ ‘Doja Cat’ คริสตัล 30,000 ชิ้นบนชุดแบรนด์ Schiaparelli