งานอีเว้นท์ Events ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาในโลกธุรกิจ เพราะ เป็นกิจกรรมโปรโมทและการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายอย่างหนึ่ง เราจึงเห็นการจัดอีเว้นท์ตามสถานที่ต่าง ๆ แทบไม่มีว่างเว้นเลยในแต่ละวัน
เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าเวลาที่เขาจัดงานอีเว้นท์ขึ้นมาสักหนึ่งงานนั้นมีเบื้องหลังอย่างไรบ้าง วันนี้ All That’s Stylist จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนึ่งในทีมเบื้องหลังสำคัญของงานอีเว้นท์ นั่นก็คือ อีเว้นท์สไตลิสต์ กันค่ะ
ถ้าอยากจะรู้แล้วว่าอัเวีนท์สไตลิสต์มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไร แล้วรายได้ดีไหม ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
Events stylist คือ อะไร
คือ คนที่มีหน้าที่วางแพลนและออกแบบงานอีเว้นท์งานหนึ่งให้ออกมาสมบูรณ์แบบ ออกแบบ ดูแล และตกแต่งงานอีเว้นท์นั้น ๆ ให้ออกมาสวยสมบูรณ์แบบที่สุด
โดยที่อีเว้นท์สไตลิสต์จะดูแลออกแบบภาพรวมในเรื่องของสถานที่ การตกแต่ง รวมไปถึง mood & tone ของงานให้ออกมาตรงตามโจทย์ของผู้จัดงาน
อีเว้นท์สไตลิสต์ ทำหน้าอะไรบ้าง? สำคัญต่องานอีเว้นท์อย่างไร?
หน้าที่ในการจัดอีเว้นท์ก็ คือ การครีเอทีฟและวางแผนภาพลักษณ์ของอีเว้นท์ โดยจะต้องตีโจทย์งานให้แตกว่าผู้จัดงานหรือลูกค้าต้องการอะไร
มีคอนเซปต์แบบไหน สถานที่จัดงานมีข้อจำกัดอะไรบ้างไหม บัดเจตหรืองบประมาณมีเท่าไหร่ แล้วจึงมาเริ่มประเมินวางแผนคิดดีไซน์ฉาก เวที แสง สี เสียง รวมไปถึงของตกแต่งว่าจะออกมาทิศทางไหน
นอกจากนั้นยังต้องดูแลอาหารและเครื่องดื่มในงานเพื่อให้งานออกมาคลุมธีมไม่หลุดโทน เรียกได้ว่าดีเทลทุกอย่างในงานอีเว้นท์ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ๆ อย่างฉาก แสง และเวที กล่าวง่าย ๆ ว่า คือ คนวางภาพลักษณ์ของงานอีเว้นท์นั่นเอง
อยากเป็น Events stylist เริ่มต้นอย่างไร?
หนทางในการไปสู่อาชีพ อาจจะเริ่มต้นจากการสมัครร่วมทีมกับบริษัทออกาไนซ์ที่รับจัดงานอีเว้นท์ หรือที่เรียกว่าออกาไนเซอร์ หรือ Organizer ซึ่งเขาจะรับจัดงานอีเว้นท์แบบ one stop service ครบจบที่นี่ที่เดียว
โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ จะมีอุปกรณ์และทีมงานเป็นของตนเอง เราสามารถเริ่มจากการเป็นส่วนหนึ่งในทีม เรียนรู้งานและสั่งสม Connection พอเรามีประสบการณ์มากขึ้นอาจจะขยับขยายออกมาเป็นฟรีแลนซ์หรือสร้างทีมของตัวเองขึ้นมาเพื่อเติบโตต่อไปในอนาคต
Events stylist ต้องเรียนอะไร
หากถามว่าเว้นท์สไตลิสต์จะต้องจบอะไรมานั้นถ้าจะเอาให้ตรงสายเลยปัจจุบันในไทยก็มีหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรที่ว่าด้วยการจัดการงานอีเว้นท์โดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการจัดการ
กลุ่มธุรกิจไมซ์ (MICE) ที่ย่อมาจากการประชุม (Meeting) การจัดการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานในองค์กร (Incentives) การจัดงานสัมมนา (Conventions) และการจัดนิทรรศการต่าง ๆ (Exhibitions) ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรเหล่านี้ก็จะมี
- สาขาการจัดการอีเว้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สาขาการจัดการประชุมนิทรรศการและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยยสงขลานครินทร์
- สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาการจัดการนิทรรศการและการประชุม คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยดุสิตธานี
- สาขาการจัดการประชุมนิทรรศการและกิจกรรมพิเศษ คณะมนุษย์ศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้า
- สาขาวิชาการจัดการไมซ์และอิเว้นท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากจบไม่ตรงสายก็สามารถเป็นได้เช่นกัน แต่จำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติในเรื่องความคิดสร้างสรรค์
ทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี มีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ที่สำคัญจะต้องกล้าแสดงความคิดเห็น ตรงต่อเวลา และมีทักษะการติดต่อประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้งานออกมาราบรื่น
Events stylist เงินเดือนในไทย
อาชีพนี้ถือว่าใหม่มากในเมืองไทย หากแต่มีโอกาสที่จะเติบโตสูง เพราะแนวโน้มในงานจัดงานอีเว้นท์ของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ แทบไม่มีว่างเว้นเลยในแต่ละวัน
ไม่ว่าจะเป็นอีเว้นท์เปิดตัวสินค้า อีเว้นท์เปิดตัวธุรกิจ หรือจะเป็นอีเว้นท์สัมมนา ซึ่งในบางงานก็มีแสงสีเสียงพร้อมเอฟเฟ็ก อลังการ บางงานเชิญศิลปินที่มีชื่อเสียงมาร่วมแสดงหรือโชว์ตัว ดังนั้น อาชีพอีเว้นสไตลิสต์ยังคงพอมีทิศทางและอนาคตที่สดใสแน่นอน
ส่วนรายได้ก็ดีมาก ๆ ถ้ายังไม่มีประสบการณ์เริ่มงานในบริษัทออกาไนซ์รายได้ต่อเดือนก็อยู่ที่เพดานเงินเดือนของแต่ละบริษัท ส่วนใหญ่ก็ราว ๆ 20,000 – 25,000 บาท
หรือถ้าเป็นฟรีแลนซ์ปกติจะรับรายได้เป็นโปรเจ็ค ซึ่งเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ไปจนถึงหลักแสนเลยก็มีค่ะ
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับอาชีพนี้ ถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว อาชีพอีเว้นท์สไตลิสต์ก็ไม่ได้แตกต่างไปกับงานสไตลิสต์ในอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่น อย่างสไตลิสต์ส่วนตัว (personal stylist) Hair stylist คือ อะไร? เบื้องหลังความสวยเป๊ะของผู้คนกับหน้าที่และความสำคัญของ “ช่างทำผม” หรือ Food stylist คือ อะไร? ความสำคัญและหน้าที่ของ ‘ฟู้ดสไตลิสต์’
เพราะต้องอาศัยความครีเอทีฟและพลังงานเยอะ ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจ แถมยังต้องคอยเสี่ยงกับปัญหาเฉพาะหน้าและแรงกดดันที่อาจมีเข้ามาได้ตลอดเวลา
ดังนั้น จะต้องพัฒนาตัวเองและหมั่นติดตามเทรนด์ใหม่ ๆ เสมอเพื่อให้มีไอเดียดี ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานจึงสำคัญมากค่ะ
สนใจติดต่อทีมงาน Personal Stylist:
Personal Stylist หรือ Stylist สำหรับ Production และ ส่วนตัว สามารถติดต่อเราได้
Add ID Line or call: 0989954197 (Khun Mind)
Email: [email protected]
อ่านบทความ Stylist ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
- ชวนรู้จักอาชีพ มัณฑนากร หรือ Interior designer เบื้องหลังของผู้แปลงโฉมบ้านให้สวย ตามความต้องการ
- ส่อง 8 ลุค “กลัฟคณาวุฒิ” กับการเดินทางไปซิดนีย์ เยี่ยมชมนิทรรศกาลของ Gucci Garden Archetypes
- เก็บตกลุคแฟชั่นโชว์ โอต์กูตูร์ ‘Doja Cat’ คริสตัล 30,000 ชิ้นบนชุดแบรนด์ Schiaparelli