รองเท้าผ้า ใบถือว่าเป็นไอเทมเครื่องแต่งกายสุดเบสิก เพราะ สามารถจับมาแมทช์ได้กับทุกลุคทุกสไตล์ จะสวมใส่ชิล ๆ ใส่ไปเที่ยว ใส่ออกงาน ใส่ไปเรียน หรือจะใส่ไปทำงานก็ได้ทั้งนั้น เรียกได้ว่าสวมใส่ได้ทุกโอกาส
แต่เคยสังเกตกันไหมคะ ว่ารองเท้าผ้าใบที่เราสวมใส่กันอยู่ทุกวันนี้ ผลิตมาจากอะไร? วันนี้ All That’s Stylist เลยอยากจะชวนทุกคนไปหาคำตอบกันค่ะว่า รองเท้า ผ้าใบ ทํา มา จาก วัสดุ อะไร ถ้าอยากรู้แล้วตามไปดูกันเลยดีว่าค่ะ
รองเท้า ผ้าใบ ทํา มา จาก วัสดุ อะไร
1. ผ้า: ผ้าแคนวาส, ผ้าไนล่อน, ผ้าตาข่าย, ผ้าวูล, ผ้าถัก และผ้าชนิดพิเศษอื่น ๆ
2. เชือกผูก: เชือกไนลอน, เชือกโพลีเอสเทอร์ และ เชือกคอตตอน
3. พื้นรองเท้า: พื้นยาง, พื้นโฟม, พื้น PU และพื้นรองเท้าแบบอื่น ๆ
วัสดุ “ผ้า”
ขึ้นชื่อว่า รองเท้าผ้าใบ วัสดุหลักที่ใช้ผลิตแน่นอนว่ายังไงก็ต้องเป็น “ผ้า” โดยผ้าที่นำมาใช้ผลิตรองเท้าผ้าใบนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย ขึ้นอยู่กับรุ่นและแบรนด์ของรองเท้าผ้าใบ ซึ่งแบ่งออกได้ 5 ประเภทดังนี้ >> 10 ชื่อเรียก ชนิดผ้าทำรองเท้า ความรู้ใหม่ที่สายช้อปรองเท้าห้ามพลาด
- ผ้าแคนวาส (Canvas) ผ้าแคนวาส หรือ ผ้าใบเป็นผ้าที่นิยมนำมาทำรองเท้าผ้าใบมากที่สุด เป็นที่มาของชื่อรองเท้าผ้าใบนั่นเอง เพราะผ้าชนิดนี้มีความยืดหยุ่น แต่ยังคงความแข็งแรงคงทน ที่สำคัญยังช่วยระบายอากาศได้ดีทำให้สวมใส่สบาย
- ผ้าไนล่อน (Nylon) เป็นผ้าสังเคราะห์ ที่เกิดจากเบนซิน ฟีนอล ไฮโดรเจน แอมโมเนีย นำมาผ่านกรรมาวิธีจนเกิดเป็นเส้นใยขึ้น ลักษณะเด่นก็คือมีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าแคนวาส แถมยังคงรูปได้ดีกว่าด้วย เมื่อนำมาทำรองเท้าจึงขึ้นรูปได้ทรงสวย
- ผ้าตาข่าย (Mesh) เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ที่นำมาถักทอกันเป็นตาข่าย ผ้าชนิดนี้มีรูโปร่ง ซึ่งระยะห่างระหว่างรูก็ขึ้นอยู่กับดีไซน์ว่าจะห่างมากห่างน้อย ซึ่งรูโปร่งนี้ส่งผลโดยตรงกับการระบายอากาศของรองเท้า ยิ่งมีระยะห่างระหว่างรูมากจะยิ่งระบายอากาศได้ดี มักนิยมนำมาผลิตเป็นรองเท้าวิ่ง ใส่วิ่งแล้วจะคล่องตัวขึ้น
- ผ้าวูล (Wool) เป็นผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ 100% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนสัตว์ คุณสมบัติจะถ่ายเทความร้อนได้ดี ระบายอากาศได้น้อย สวมใส่แล้วจะให้ความอบอุ่นนิยมนำมาทำเป็นรองเท้าสำหรับเดินกลางหิมะ ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับที่เปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดกลิ่นอับและเชื้อราได้ง่าย
- ผ้าถัก (Knit) ผ้าถักเกิดจากการนำเส้นด้ายมาถักเป็นผ้า เมื่อนำมาผลิตเป็นรองเท้าจะเบามาก แถมใส่แล้วยังกระชับให้ความรู้สึกคล้ายกับการสวมใส่ถุงเท้า อีกทั้งยังไม่มีรอยต่อของตะเข็บเย็บจึงไม่ทำให้เกิดการเสียดสี ที่สำคัญยังโปร่งสบายระบายอากาศได้ดี
วัสดุ “เชือกผูก“
เชือกรองเท้าที่นิยมใช้กันในท้องตลาดก็มี 3 ประเภท คือ เชือกไนลอน เชือกโพลีเอสเทอร์ และเชือกผ้าไหม
- เชือกไนลอน (Nylon shoelaces) จุดเด่นก็คือมีความแข็งแรงทนต่อการสึกหรอ ไม่เสียรูปง่าย ลักษณะของเชือกผูกรองเท้าจะเป็นทรงกระบอก มักใช้กับรองเท้าออกกำลังกาย รองเท้าวิ่ง รองเท้าเดินป่า เป็นต้น
- เชือกโพลีเอสเทอร์ (Polyester shoelaces) ลักษณะของเชือกผูกรองเท้าชนิดนี้จะแบน ให้ความยืดหยุ่นสูง ถือเป็นเชือกรองเท้าที่นิยมใช้กับรองเท้าผ้าใบแฟชั่น มีหลากหลายสีสันให้เลือก
- เชือกคอนตอน (Cotton shoelaces) เป็นเชือกที่มีลักษณะคล้ายและเชือกโพลีเอสเทอร์ จุดสังเกตจะมีลักษณะ แบนที่ตัวเชือก และมีความนุ่มของผ้าคอตตอน จุดเด่นเชือกชนิดนี้ คือ มัดง่าย ไม่หลุดง่าย มีความยืดหยุ่น เหมาะกับรองเท้าแฟชั่น อย่างรองเท้าคอนเวิร์ส
วัสดุ “พื้นรองเท้า“
พื้นรองเท้าเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทก ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องการทรงตัว และยังป้องกันสิ่งแปลกปลอมไม่ให้ทะลุเข้ามาโดนฝ่าเท้า ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นพื้นรองเท้าผ้าใบมีดังนี้
- พื้นยาง (Rubber Soles) เป็นพื้นรองเท้าที่มีความคงทน พื้นรองเท้ายางที่เรามักคุ้นเคยกันดีก็คือรองเท้าผ้าใบนักเรียน ข้อเสียของมันก็คือหากใส่ไปนาน ๆ แล้วยางสึกอาจจะสูญเสียการยึดเกราะ ทำให้พื้นรองเท้าลื่น
- พื้นโฟม (EVA Soles) จุดเด่น คือ เป็นพื้นที่นิ่มมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยรองรับการกระแทกและกระจายน้ำหนักได้ดี สวมใส่แล้วให้ความรู้สึกเบาสบายกว่ารองเท้าพื้นยาง
- พื้น PU (Polyurethane Soles) จุดเด่นก็คือทนความร้อน มีความยืดหยุ่นสูงกว่าวัสดุอื่น ๆ แถมยังทนต่อการกระแทก ที่สำคัญเบากว่าพื้นยางถึง 2 เท่า ซึ่งพื้นรองเท้า PU นิยมนำมาขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยี Air Sole ทำให้สวมใส่สบายราวกับเดินอยู่บนอวกาศ
เลือกรองเท้าผ้าใบตามวัสดุที่ใช้ผลิต มีประโยชน์อย่างไร?
การรู้วัสดุทำให้เราเลือกรองเท้าผ้าใบที่เข้ากับความต้องการ วัตถุประสงค์ในการใช้ได้ เช่น สำหรับวิ่ง, ใส่ประจำวัน หรือผ้าใบที่เน้นใส่แบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์ทั่วไป
วิธีดูแลรองเท้าผ้าใบแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?
วิธีดูแลแตกต่างกันออกไปตามแต่ละวัสดุของรองเท้า เช่น สำหรับผ้าแคนวาส ใช้น้ำอุ่น หรือ น้ำยาซักผ้าซักได้ สําหรับผ้าไนล่อนควรใช้แปรงและน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะผสมน้ำพอปริมาณและซัก ส่วนผ้าตาข่ายและผ้าถัก ควรใช้ถุงล้างในการซัก เพื่อรักษาคุณภาพของผ้า ส่วนวูล สวมใส่ถุงผ้าแล้ววางตากลมถ้าเปียกและไม่ควรซัก
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อ่านมาถึงตรงนี้หวังว่าทุกคนคงคลายข้อสงสัยกันบ้างแล้วว่า รองเท้า ผ้าใบ ทํา มา จาก วัสดุ อะไร ใช่ไหม ทีนี้คุณก็จะมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุรองเท้าผ้าใบมากขึ้น
สามารถนำไปใช้ในการเลือกซื้อรองเท้าผ้าใบของคุณกันได้ เพราะวัสดุแต่ละประเภทก็มีความพิเศษและจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน
ซึ่งทำให้วิธีการดูแลรักษาแตกต่างกันไปด้วย หากเราเข้าใจความแตกต่างว่ารองเท้า ผ้าใบ ทํา มา จาก วัสดุ อะไรก็จะช่วยให้เราสามารถจัดประเภทและจัดเก็บรองเท้าผ้าใบได้ถูกวิธีมากยิ่งขึ้นค่ะ
ตามไปอ่านบทความ
- ผ้ายีนส์มีกี่ชนิด? “ยีนส์ กับ เดดิม” ต่างกันอย่างไร? เรามีคำตอบ
- 10 ชื่อเรียก ชนิดผ้าทำรองเท้า ความรู้ใหม่ที่สายช้อปรองเท้าห้ามพลาด
- 10 ชื่อเรียก “Pattern” ลายผ้าที่สายแฟชั่นตัวแม่ต้องแชร์เก็บไว้!